กิจกรรมเพื่อสังคม (CSR-After-Process)

        เป็นการดำเนินกิจกรรมขององค์กรที่แสวงหากำไรในธุรกิจต่างๆ และนำเงินส่วนหนึ่งที่เป็นรายได้จากการสินค้าหรือบริการ ที่ไม่ได้อยู่ในกระบวนการผลิต การขายสินค้าหรือบริการของบริษัท เป็นกิจกรรมที่ถูกวางแผนและทำขึ้นมาหลังจากการดำเนินธุรกิจ เช่น การบริจาคเงินสมทบทุน การบริจาคเงินช่วยเหลือภัยพิบัติ การสร้างโรงเรียนในต่างจังหวัด หรือการเป็นอาสาสมัครในด้านต่างๆ.

ธุรกิจเพื่อสังคม (CSR-in-Process)

     ความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการทำงานหลักของบริษัทหรือองค์กรนั้นๆ ที่แสวงหากำไรแต่ไม่ลืมที่จะคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น การควบคุมและป้องกันการสร้างมลพิษจากกระบวนการผลิต การผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน การระบุข้อความหรือข้อมูลส่วนผสมในสินค้า หรือการจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่บริษัททำอะไรผิดพลาดที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่ความผิดพลาดต่อลูกค้า ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นในเวลาทำงานปกติขององค์กร.

กิจการเพื่อสังคม (CSR-as-Process)

        กิจการเพื่อสังคมจะมีความแตกต่างจากกิจกรรมเพื่อสังคมและธุรกิจเพิ่มสังคม เนื่องจากกิจการเพื่อสังคมนั้นเป็นการทำโดยที่ไม่ได้แสวงหากำไรให้กับตัวเอง หรือเรียกได้ว่าทุกกระบวนการของธุรกิจนั้นจะเกี่ยวข้องกับประโยชน์เพื่อสังคมทั้งหมด เช่น มูลนิธิเพื่อสังคม องค์กรสาธารณประโยชน์ ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของคนที่มีอุดมการณ์เดียวกันในการสร้างประโยชน์สูงสุดแก่สังคม แต่ก็จำเป็นต้องอยู่รอดด้วยการรับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ และเรายังเห็นได้จากองค์กรใหญ่หลายๆองค์กรก็เริ่มมีการจัดตั้งหน่วยงานกิจการเพื่อสังคมขึ้นมาเป็นรูปแบบมูลนิธิเพื่อสังคม ในการกำกับดูแลการทำเพื่อสังคมโดยเฉพาะ.

ระดับของ CSR

การทำ CSR นั้นมีทั้งแบบการทำโดยความตั้งใจจริงและการทำตามข้อกำหนดบางอย่าง ที่มีความเข้มข้นต่างกันอยู่ด้วยกัน 4 ระดับ คือ

  • ระดับพื้นฐาน ที่จำเป็นต้องทำตามกฎระเบียบ หรือข้อกำหนดต่างๆ โดยส่วนใหญ่เราจะเห็นได้จากองค์กรที่เป็นมหาชน ที่จำเป็นต้องมีกิจกรรมเพื่อสังคมในรูปแบบต่างๆ
  • ระดับก้าวหน้า หรือกิจกรรมที่เกิดจากการสมัครใจของตัวองค์กรเอง โดยที่ไม่ได้ถูกบังคับด้วยกฎระเบียบใดๆ
  • องค์กรเป็นผู้ขับเคลื่อน (Corporate-Driven) หรือการที่องค์กรบริจาคเงินหรือทรัพยากรต่างๆเพื่อช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ รวมทั้งการใช้กำลังคนในองค์กรลงไปร่วมกิจกรรมต่างๆ อาจเรียกได้ว่าเป็นการเสียสละทั้งกำลังทรัพย์และการลงแรง
  • พลังสังคมเป็นผู้ขับเคลื่อน (Social-Driven) หรือการที่องค์กรประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าหรือผู้ที่สนใจ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือสังคมด้วยการซื้อสินค้าและองค์กรจะนำเงินส่วนหนึ่งในร่วมทำกิจกรรมดีๆเพื่อสังคม เช่น หากซื้อรองเท้า 1 คู่ บริษัทจะบริจาค 1 คู่ เพื่อผู้ยากไร้ หรือการระดมเงินทุนต่างๆเพื่อช่วยเหลือผู้เดือดร้อน
TOMS One for One

Source: www.magtoo.fr/toms-faites-une-bonne-action

Cover photo by Rodrigo Vieira from FreeImages

ชนิดของ CSR

CSR สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ชนิดด้วยกัน คือ

  • การส่งเสริมประเด็นสังคม (Cause Promotion) การที่องค์กรส่งเสริมประเด็นปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคม โดยการช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น การจัดหาเงินทุน การระดมทุน การบริจาคทรัพยากร การส่งอาสาสมัครเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ
  • การตลาดที่เกี่ยวโยงกับประเด็นสังคม (Cause-Related Marketing) การที่องค์กรบริจาครายได้ส่วนหนึ่งจากการขายสินค้าหรือบริการ เพื่อนำไปสมทบทุนหรือบริจาคให้กับหน่วยงานการกุศล หรือมูลนิธิต่างๆ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้ร่วมทำบุญกับองค์กรและมูลนิธิด้วยความสมัครใจ
  • การตลาดเพื่อแก้ปัญหาสังคม (Corporate Social Marketing) การที่องค์กรรณรงค์หรือสนับสนุนให้เกิดการสร้างความตระหนักรู้ และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมในด้านต่างๆ อาทิ ด้านสาธารณสุข ด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อม โดยองค์กรจะสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นในแคมเปญการรณรงค์ต่างๆ
  • การบริจาคเพื่อการกุศล (Corporate Philanthropy) การบริจาคปัจจัยหรือสิ่งของเพื่อช่วยเหลือปัญหาสังคม ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการร้องขอจากหน่วยงานต่างๆ ที่ไม่ใช่การวางแผนในการทำโดยตัวองค์กรเอง
  • การอาสาช่วยเหลือชุมชน (Community Volunteering) การที่องค์กรจูงใจให้พนักงานสละเวลาในการทำงานเพื่อช่วยเหลือกิจกรรมทางสังคม โดยองค์กรอาจทำกิจกรรมด้วยตัวเองหรือร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ
  • การประกอบธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม (Socially Responsible Business Practices) การดำเนินธุรกิจที่หลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับสังคม โดยการพิจารณาตั้งแต่กระบวนการผลิตสินค้า การเลือกใช้วัตถุดิบต่างๆ อีกทั้งยังหาวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ในกระบวนการต่างๆ รวมถึงการร่วมรณรงค์ให้คนในสังคมมีความรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย
  • การพัฒนาและส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการตามกำลังซื้อของคนในระดับฐานราก (Developing and Delivering Affordable Products and Services) การใช้กระบวนการทางธุรกิจในการผลิตและจำหน่ายสินค้าและบริการสู่ตลาดในราคาที่ไม่แพง เหมาะกับกำลังซื้อของผู้บริโภคในระดับฐานราก ให้สามารถเข้าถึงสินค้าและบริการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

ข้อควรระวังในการทำ CSR

การทำกิจกรรมเพื่อสังคมนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก และมีสิ่งที่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับตัวองค์กร และคงไว้ซึ่งจรรยาบรรณในการทำธุรกิจ องค์กรควรหลีกเลี่ยงโดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับอะไรที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักขององค์กรหรือความถูกต้องในการทำธุรกิจ และควรหลีกเลี่ยงจากการใช้ประโยชน์จาก CSR เพื่อประโยชน์ทางการตลาด เพื่อไม่ให้เกิดคำถามจากสังคมว่าเป็นการทำเพื่อประโยชน์อย่างอื่นหรือเป็นแค่การสร้างภาพลักษณ์ ดังนั้นการวางแผนการทำกิจกรรม CSR ใดๆจำเป็นต้องคิดให้รอบด้านที่จะต้องส่งผลดีต่อทุกๆฝ่าย โดยจะต้องส่งผลบางอย่างเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกให้น่าอยู่ยิ่งขึ้นอย่างแท้จริง

ตัวอย่างการทำ CSR

  • การลดการใช้คาร์บอน
  • ปรับปรุงนโยบายการจ้างงาน
  • การเข้าไปมีส่วนร่วมในการขายสินค้าอย่างมีจริยธรรม
  • อาสาสมัครทำกิจกรรมเพื่อชุมชน
  • การบริจาคเงินทุน
  • การเปลี่ยนนโยบายบริษัทให้หันมามุ่งเน้นเรื่องประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
  • การลงทุนในกระบวนการผลิตเพื่อพัฒนาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • การตั้งโครงการด้านการกุศล

Reference

Philip Kotler and Nancy Lee, Corporate Social Responsibility, (New Jersey, John Wiley & Sons, 2005), p.23.
Philip Kotler and Nancy Lee, Up and Out of Poverty, (Wharton School Publishing, 2009), p.294.
ThaiCSR.com

More Click me!

องค์กร หรือ หน่วยงานที่อยากให้เราไปจัดกิจกรรม CSR

สนใจสอบถามเพิ่มเติม:Line@Berryb  | Tel:061-524-1661.